วันพุธที่ 21 มกราคม พ.ศ. 2552

ประวัติความเป็นมาของอินเตอร์เน็ต

อินเทอร์เน็ต ซึ่งเป็นโครงการของ ARPAnet(Advanced Research Projects Agency Network) ซึ่งเป็นหน่วยงานที่สังกัด กระทรวงกลาโหม ของสหรัฐ (U.S.Department of Defense - DoD) ถูกก่อตั้งเมื่อประมาณ ปีค.ศ.1960(พ.ศ.2503) และได้ถูกพัฒนาเรื่อยมา

ค.ศ.1969(พ.ศ.2512) ARPA ได้รับทุนสนันสนุน จากหลายฝ่าย ซึ่งหนึ่งในผู้สนับสนุนก็คือ Edward Kenedy และเปลี่ยนชื่อจาก ARPA เป็น DARPA(Defense Advanced Research Projects Agency) พร้อมเปลี่ยนแปลงนโยบายบางอย่าง และในปีค.ศ.1969(พ.ศ.2512)นี้เองที่ได้ทดลองการเชื่อมต่อคอมพิวเตอร์คนละชนิด จาก 4 แห่งเข้าหากันเป็นครั้งแรก คือ มหาวิทยาลัยแคลิฟอร์เนีย สถาบันวิจัยสแตนฟอร์ด มหาวิทยาลัยแคลิฟอร์เนีย และมหาวิทยาลัยยูทาห์ เครือข่ายทดลองประสบความสำเร็จอย่างมาก ดังนั้นในปีค.ศ.1975(พ.ศ.2518) จึงได้เปลี่ยนจากเครือข่ายทดลอง เป็นเครือข่ายที่ใช้งานจริง ซึ่ง DARPA ได้โอนหน้าที่รับผิดชอบโดยตรง ให้แก่ หน่วยการสื่อสารของกองทัพสหรัฐ (Defense Communications Agency - ปัจจุบันคือ Defense Informations Systems Agency) แต่ในปัจจุบัน Internet มีคณะทำงานที่รับผิดชอบบริหารเครือข่ายโดยรวม เช่น ISOC (Internet Society) ดูแลวัตถุประสงค์หลัก, IAB (Internet Architecture Board) พิจารณาอนุมัติมาตรฐานใหม่ในInternet, IETF (Internet Engineering Task Force) พัฒนามาตรฐานที่ใช้กับ Internet ซึ่งเป็นการทำงานโดยอาสาสมัคร ทั้งสิ้น
ค.ศ.1983(พ.ศ.2526) DARPA ตัดสินใจนำ TCP/IP (Transmission Control Protocal/Internet Protocal) มาใช้กับคอมพิวเตอร์ทุกเครื่องในระบบ ทำให้เป็นมาตรฐานของวิธีการติดต่อ ในระบบเครือข่าย Internet จนกระทั่งปัจจุบัน จึงสังเกตุได้ว่า ในเครื่องคอมพิวเตอร์ทุกเครื่องที่จะต่อ internet ได้จะต้องเพิ่ม TCP/IP ลงไปเสมอ เพราะ TCP/IP คือข้อกำหนดที่ทำให้คอมพิวเตอร์ทั่วโลก ทุก platform คุยกันรู้เรื่อง และสื่อสารกันได้อย่างถูกต้อง
การกำหนดชื่อโดเมน (Domain Name System) มีขึ้นเมื่อ ค.ศ.1986(พ.ศ.2529) เพื่อสร้างฐานข้อมูลแบบกระจาย (Distribution database) อยู่ในแต่ละเครือข่าย และให้ ISP(Internet Service Provider) ช่วยจัดทำฐานข้อมูลของตนเอง จึงไม่จำเป็นต้องมีฐานข้อมูลแบบรวมศูนย์ เหมือนแต่ก่อน เช่น การเรียกเว็บ www.yonok.ac.th จะไปที่ตรวจสอบว่ามีชื่อนี้ หรือไม่ ที่ www.thnic.co.th ซึ่งมีฐานข้อมูลของเว็บที่ลงท้ายด้วย th ทั้งหมด เป็นต้น
DARPA ได้ทำหน้าที่รับผิดชอบดูแลระบบ internet เรื่อยมาจนถึง ค.ศ.1980(พ.ศ.2523) และให้ มูลนิธิวิทยาศาสตร์แห่งชาติ (National Science Foundation - NSF) เข้ามาดูแลแทนร่วม กับอีกหลายหน่วยงาน

ค.ศ.1991(พ.ศ.2534) ทิม เบอร์เนอร์ส ลี (Tim Berners-Lee) แห่งศูนย์วิจัย CERN ได้คิดค้นระบบไฮเปอร์เท็กซ์ขึ้น เว็บเบราวเซอร์ (Web Browser) ตัวแรกมีชื่อว่า WWW (World Wide Web) แต่เว็บได้รับความนิยมอย่างจริงจัง เมื่อ ศูนย์วิจัย NCSA ของมหาวิทยาลัยอิลลินอยส์เออร์แบน่าแชมเปญจ์ สหรัฐอเมริกา ได้คิดโปรแกรม MOSAIC (โมเสค) โดย Marc Andreessen ซึ่งเป็นเว็บเบราว์เซอร์ระบบกราฟฟิก หลังจากนั้นทีมงานที่ทำโมเสคก็ได้ออกไปเปิดบริษัทเน็ตสเคป (Browser Timelines : Mosaic 1993, IE 1995, Netscape 1994, Opera 1996, Macintosh IE 1996)
ในความเป็นจริง ไม่มีใครเป็นเจ้าของ Internet และไม่มีใครมีสิทธิขาดแต่เพียงผู้เดียว ในการกำหนดมาตรฐานใหม่ต่าง ๆ ผู้ติดสินว่าสิ่งไหนดี มาตรฐานไหนจะได้รับการยอมรับ คือ ผู้ใช้ ที่กระจายอยู่ทั่วทุกมุมโลก ที่ได้ทดลองใช้มาตรฐานเหล่านั้น และจะใช้ต่อไปหรือไม่เท่านั้น ส่วนมาตรฐานเดิมที่เป็นพื้นฐานของระบบ เช่น TCP/IP หรือ Domain name ก็จะต้องยึดตามนั้นต่อไป เพราะ Internet เป็นระบบกระจายฐานข้อมูล การจะเปลี่ยนแปลงระบบพื้นฐาน จึงไม่ใช่เรื่องง่ายนัก
ความเป็นมาของอินเตอร์เน็ตในประเทศไทย
สำหรับการใช้งาน เครือข่ายอินเตอร์เน็ต ในประเทศไทยนั้น ได้เริ่มต้นการใช้งานในภาครัฐ โดยมี มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ เป็นจุดแรก ประมาณ พ.ศ. 2530 จากนั้น กระทรวงวิทยาศาสตร์เทคโนโลยี และการพลังงาน ได้มอบหมายให ้ศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์ และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ หรือ NECTEC จัดสรรเงินทุน งบประมาณ เพื่อการวิจัยการพัฒนาเครือข่ายอินเตอร์เน็ต เพื่อเชื่อมโยง มหาวิทยาลัยทั่วประเทศทั้งหมด เข้าด้วยกัน สำหรับ ในเชิงพาณิชย์นั้น เมื่อการสื่อสารแห่งประเทศไทย ได้อนุมัติการ จัดตั้งให้บริษัท KSC เป็นผู้ให้บริการ อินเตอร์เน็ต หรือ ISP รายแรกของประเทศไทย เพื่อให้บริการการเชื่อมต่อ อินเตอร์เน็ตแก่บุคคลทั่วไป ทั้งในรูปแบบของบุคคลธรรมดา และนิติบุคคล จากนั้น ก็ได้มี ISP เกิดขึ้นตามมาอีกหลาย บริษัทเพื่อให้บริการในเชิงพาณิชย์

ผังแสดงการเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ต (Internet)


วันอังคารที่ 20 มกราคม พ.ศ. 2552

การโฆษณา

สื่อโฆษณาเบื้องต้น

สื่อโฆษณาคือเครื่องมือทางการตลาดชิ้นหนึ่ง ที่มีหน้าที่นำพาข่าวสารที่ผู้โฆษณาต้องการให้ผู้บริโภคได้รับรู้ และเกิดความต้องการในสินค้า การที่ผู้โฆษณาจะประสบความสำเร็จทางด้านการสื่อสารผู้โฆษณาควรที่จะรู้จัก ลักษณะของสื่อโฆษณาแต่ละชนิด เพื่อให้เกิดการสื่อสารที่มีประสิทธิภาพ
สื่อโฆษณาที่นิยมใช้โดยทั่วไปได้แก่ หนังสือพิมพ์ นิตยสาร วิทยุ โทรทัศน์ สื่อดังกล่าวเป็นสื่อหลักที่ใช้กันเป็นส่วนมากในงานโฆษณา เนื่องจากเป็นสื่อมวลชนที่เข้าถึงกลุ่มผู้บริโภคจำนวนมาก ดังนั้นในการวางแผนการใช้สื่องบประมาณด้านสื่อส่วนใหญ่ส่วนใหญ่จะมุ่งไปที่ สื่อเหล่านี้เป็นอันดับแรก สำหรับสื่อ ณ จุดซื้อ แผ่นพับ ใบปลิว สื่อนอกสถานที่ เช่นแผ่นป้ายต่างๆ จะมีความสำคัญในฐานะเป็นสื่อสนับสนุน ซึ่งทำหน้าที่ในการเตือนความจำผู้บริโภคที่มีต่อสินค้า หรือกล่าวอีกนัยหนึ่งคือตัวย้ำสารโฆษณาจากสื่อหลักซึ่งได้โฆษณาไปแล้วนั่น เอง

ประเภทของสื่อโฆษณา
1. สื่อสิ่งพิมพ์ Printed media advertising
1.1 หนังสือพิมพ์ Newspaper
1.2 นิตยสาร Magazine
1.3 สื่อทางไปรษณีย์ Mail-order media
1.4 สมุดโทรศัพท์หน้าเหลือง Directories
2. สื่อกระจายภาพและเสียง Broadcast media advertising
2.1 โทรทัศน์ Television
2.2 วิทยุ Radio
2.3 โรงภาพยนตร์ Cinema
2.4 อินเทอร์เน็ต Internet
3. สื่ออื่นๆ Other media advertising
3.1 สื่อกลางแจ้ง Outdoor media
3.2 สื่อทางยานพาหนะ Transit media
3.3 สื่อโฆษณา ณ จุดซื้อ Point of purchase

ภาพสื่อหนังสือพิมพ์

หนังสือพิมพ์ Newspaper

หนังสือ พิมพ์เป็นสื่อที่มีความสำคัญ ได้รับความสนใจและมีอิทธิพลต่อชีวิตประจำวันของผู้บริโภคอย่างยิ่ง โดยเฉพาะในชีวิตประจำวันของคนเมืองที่มีความเจริญแล้ว ยิ่งจะได้รับความสนใจในการอ่านกันอย่างแพร่หลาย การเลือกใช้สื่อโฆษณาทางหนังสือพิมพ์เพื่อนำข่าวสารโฆษณาไปสู่กลุ่มเป้าหมาย เราจึงต้องมีความเข้าใจลักษณะของตัวสื่อหนังสือพิมพ์ นั่นก็จะทำให้การโฆษณาของเรามีประสิทธิภาพ


นิตยสาร Magazine
นิตยสาร เป็นสิงพิมพ์ที่รวมเนื้อหาสาระประเภทต่างๆเข้าไว้ด้วยกัน ที่มีความน่าสนใจหลายๆเรื่อง แต่เป็นเรื่องประเภทเดียวกัน ทำให้สามารถเลือกกลุ่มเป้าหมายเฉพาะได้ ตรงกับกลุ่มเป้าหมายของสินค้า และจัดพิมพ์ออกมาเป็นเล่มวางตลาดเป็นรายคาบ (Periodical Publication) คือรายสัปดาห์ รายปักษ์ รายเดือน เป็นต้น

ประเภทนิตยสาร

สมาคมโฆษณาธุรกิจแห่งประเทศไทยได้จำแนกประเภทของนิตยสารที่มีวางจำหน่ายทั่วไปในท้องตลาด มีจำนวนมากกว่า 15 ประเภทเช่น
1. นิตยสารการเมือง
2. นิตยสารกีฬา
3. นิตยสารสำหรับเด็ก
4. นิตยสารทางการถ่ายภาพและภาพพิมพ์
5. นิตยสารการท่องเที่ยว
6. นิตยสารทางธุรกิจและทางการโฆษณา
7. นิตยสารบันเทิง
8. นิตยสารบ้าน
9. นิตยสารผู้หญิง
10. นิตยสารผู้ชาย
11. นิตยสารรถ
12. นิตยสารทางศิลป-วัฒนธรรม
13. นิตยสารเศรษฐกิจ
14. นิตยสารสุขภาพ
15. นิตยสารครอบครัว

ประเภทของสื่อโฆษณา
1. สื่อสิ่งพิมพ์ Printed media advertising
1.1 หนังสือพิมพ์ Newspaper
1.2 นิตยสาร Magazine
1.3 สื่อทางไปรษณีย์ Mail-order media
1.4 สมุดโทรศัพท์หน้าเหลือง Directories
2. สื่อกระจายภาพและเสียง Broadcast media advertising
2.1 โทรทัศน์ Television
2.2 วิทยุ Radio
2.3 โรงภาพยนตร์ Cinema
2.4 อินเทอร์เน็ต Internet
3. สื่ออื่นๆ Other media advertising
3.1 สื่อกลางแจ้ง Outdoor media
3.2 สื่อทางยานพาหนะ Transit media
3.3 สื่อโฆษณา ณ จุดซื้อ Point of purchase

ภาพหนังสือพิมพ์ในประเทศไทย

ภาพปกนิตยสาร TIME


ภาพสื่อโฆษณาทางไปรษณีย์
สื่อทางไปรษณีย์ Mail-order advertising
เอ็ด เวิร์ด เอ็น เมเยอร์(Edward N. Mayer) นักโฆษณาทางไปรษณีย์ ของสหรัฐอเมริกาได้ให้ข้อคิดเป็นหลักการของการดำเนินการโฆษณาทางไปรษณีย์ไว้
"ถึงแม้ชิ้นงานโฆษณาทางไปรษณีย์ของคุณจะเลิศสักเพียงใดก็ตาม ข้อความและคำโฆษณายอดเยี่ยม รูปแบบการจัดภาพในงานศิลปกรรมของคุณก็เป็นที่พึงพอใจ ศิลปการพิมพ์ก็สามารถชนะการประกวดได้รางวัลยอดเยี่ยม แสตมป์ของคุณก็เป็นแสตมป์รุ่นใหม่หายากและเหมาะแก่การเก็บเป็นของที่ระลึก แต่ถ้าชิ้นงานโฆษณาทางไปรษณีย์นั้นส่งไปยังบุคคลที่ไม่เหมาะสมกับสินค้าของ คุณ และเขาไม่สามารถซื้อสินค้าคุณได้ ความพยายามทั้งหมดของคุณก็คือ ความล้มเหลว ซึ่งกลับกลายเป็นการสูญเสียที่แพงยิ่ง"


ภาพสื่อโปสการ์ด
รูปแบบการโฆษณาทางไปรษณีย์
1. จดหมายขาย Sales Letters เป็นรูปแบบการโฆษณาที่ใช้ข้อความตัวอักษรเป็นหลัก มีลักษณะคล้ายจดหมายสำคัญทางราชการ หากมีการเซ็นต์ชื่อผู้ส่งด้วยลายเซ็นต์ของตนเองแล้ว ยิ่งทำให้ผู้บริโภคเกิดความรู้สึกที่ดี
2. โปสการ์ด Postcards สามารถใช้ไปรษณียบัตรพิมพ์ข้อความโฆษณาที่เตรียมไว้ หรือใช้วิธีการพิมพ์ไปรษณียบัตรขึ้นมาใหม่ แล้วส่งให้ลูกค้าเป้าหมาย ข้อความโฆษณาจะเป็นข้อความที่สั้นๆ
3. ใบปลิว Leaflets เป็นใบโฆษณาเล็กๆ แนบมากับจดหมาย นำมาเสริมเพราะใบปลิวสามารถพิมพ์รูปแบบการโฆษณาได้สวยงาม และมีเนื้อหาที่น่าสนใจ
4. แผ่นพับ Folder or Brochure มีลักษณะคล้ายใบปลิวผสมจุลสาร บางครั้งสามารถพับให้เป็นตัวซองจดหมายได้ในตัว
5. จุลสาร Booklets มีลักษณะคล้ายหนังสือเล่มบางๆ เล็กๆ มีเนื้อหาหลายหน้ากระดาษ บรรจุข่าวสารรายละเอียดได้อย่างครบถ้วน แม้จุลสารจะมีค่าใช้จ่ยที่สูงแต่ก็ให้ผลทางด้านความรูสึกที่คุ้มค่า
6. แค็ตตาล็อก Catalogs เป็นเอกสารหนังสือที่อธิบายรายละเอียดของสินค้าที่สมบูรณ์ที่สุด จะมีภาพสินค้า ขนาด น้ำหนัก สี และรหัสสินค้า เพื่อใช้อ้างอิงในการสั่งซื้อได้ทันทีโดยไม่จำเป็นต้องไปดูสินค้าจริง


ภาพสื่อสมุดโทรศัพท์หน้าเหลือง
สื่อสมุดโทรศัพท์หน้าเหลือง Directories

นอก จากสื่อสิงพิมพ์เบื้องต้นดังที่กล่าวมาแล้วก็ยังมีสื่อสิ่งพิมพ์ชนิดต่างๆ อีกมากมายเช่น สมุดโทรศัพท์ไดเร็คทอรี่ สมุดโทรศัพท์ไดเร็คทรอรี่ คือหนังสือที่รวบรวมรายชื่อ โทรศัพท์ กลุ่มธุรกิจ ร้านค้า สินค้าต่างๆ แยกออกเป็นหมวดหมู่ เรียงลำดับตัวอักษร ลักษณะการโฆษณาก็จะมีพื้นที่พิเศษ คือนอกจากจะมีการบอกชื่อร้านค้า และเบอร์โทรศัพท์แล้วยังมีพื้นที่สำหรับการลงรูปถ่ายร้านค้าหรือสินค้า รวมถึงข้อมูลเบื้องต้นด้วย สื่อชนิดนี้จะมีข้อด้อยตรงที่กระดาษที่ใช้พิมพ์เป็นกระดาษคุณภาพต่ำ และไม่พิมพ์สี่สี อย่างไรก็ดีสื่อชนิดนี้นับเป็นสื่อที่สำคัญอีกสื่อหนึ่งที่หน่วยงานธุรกิจ ต่างๆ ไม่ควรมองข้าม เพราะเป็นสื่อที่ให้ประโยชน์จริงๆ อายุของสื่อก็ยาวนานใช้กันเป็นปี ผู้บริโภคที่ต้องการสินค้า สามารถเปิดหาร้านค้าที่จำหน่ายได้ทันที


สื่อกระจายภาพและเสียง (Broadcast Media)

โทรทัศน์ (Television)
โทรทัศน์ เป็นสื่อโฆษณาที่มีคุณภาพที่สุดสำหรับการโฆษณา เพราะเป็นสื่อที่มีคุณลักษณะเด่นที่เหนือกว่าสื่ออื่นๆ คือ สามารถนำเสนอได้ทั้งภาพเคลื่อนไหวและเสียงได้ในเวลาเดียวกัน สื่อโทรทัศน์จึงเป็นสื่อที่ทรงอิทธิพลสูงสุดในบรรดาสื่อทั้งหลาย

การซื้อเวลาสำหรับสื่อโทรทัศน์ทำได้ 3 วิธี
1. การเป็นผู้อุปถัมภ์รายการเพียงผู้เดียวในรายการนั้นๆ Single Sponsorship
2. การเป็นผู้อุมปถัมภ์ร่วมกันหลายรายการ Multiple Sponsorship
3. การซื้อเวลาเป็นสปอตโฆษณาย่อยร่วมกัน Participating Advertiser

การเป็นผู้อุปถัมภ์รายการเพียงผู้เดียว Single Sponsorship
ผู้อุปถัมภ์รายการเพียงรายเดียวนั้นคือ มีผู้ผลิตเจ้าเดียวเป็นผู้ซื้อเวลาสำหรับออกอากาศแพร่ภาพตลอดทั้งรายการ การโฆษณาแบบนี้หวังผลการประชาสัมพันธ์มากกว่าการกระตุ้นให้เกิดยอดขายโดยตรง เป็นการเรียกร้องความสนใจจากสาธารณะชนทั่วไป ทำให้เกิดภาพพจน์ที่ดีกับธุรกิจการค้า
จากตัวอย่างคือรายการจดหมายเหตุกรุงศรีทางช่อง 7 จะเห็นว่ารายการเป็นรูปแบบสารคดีสั้นความยาวประมาณ 1 นาที และในทุกครั้งที่จบรายการจะมีการแสดงถึงผู้สนันสนุน ซึ่งก็จะเป็นธนาคารกรุงศรีอยุทธยาทุกครั้ง

ผู้อุปถัมภ์รายการร่วมกันหลายราย Multiple Sponsorship
ด้วยวัตถุประสงค์เดียวกันกับข้อแรก ผู้โฆษณาอาจรวมกันตั้งแต่สองรายขึ้นไป ซื้อรายการทั้งรายการก็ได้ เป็นวิธีที่ใช้กันมากในการซื้อรายการกีฬาถ่ายทอดสดทั้งจากต่างประเทศและใน ประเทศ
จากตัวอย่างคือรายการ คน ค้น ฅน เราจะเห็นว่าจะมีผู้สนับสนุนรายการมากกว่า 1 รายคือ รีเจนซี่ ไทยรุ่ง กระเบื้องสีตราช้าง และในทุกสัปดาห์เราจะเห็นทั้ง 3 ผลิตภัณฑ์ สนับสนุนรายการอยู่

สปอตโฆษณารายย่อย Participating Advertising
ในแต่ละรายการจะมีช่วงเวลาสำหรับโฆษณาแทรกอยู่ ช่วงโฆษณานี้จะถูกนำมาแบ่งเป็นช่วงเวลาสั้นๆ เรียกว่าสปอต Spot ซึ่งโดยเฉลี่ยจะมีความยาว 15 ,30 ,45 ,60 วินาที โดยเจ้าของสินค้าจะมีภาพยนตร์โฆษณามาให้ทางสถานีออกอากาศตามเวลาที่ตกลงกัน

สื่อกระจายภาพและเสียง (Broadcast Media)
สื่อวิทยุ radio
วิทยุ กระจายเสียงเป็นสื่อโฆษณาที่กระจายครอบคลุมพื้นที่ได้อย่างกว้างขวางมาก เพราะมีสถานีวิทยุอยู่มากมายหลายแห่ง รวมถึงวิทยุชุมชนที่เกิดขึ้นอีกมาก วิทยุยังเป็นสื่อที่สามารถทำให้ผู้รับฟังรับรู้ข่าวสารได้ในทุกอริยบถ เช่นรับฟังในขณะขับรถ ทำงาน นอนพักผ่อน ออกกำลังกาย จึงกล่าวได้ว่าวิทยุเป็นสื่อที่เข้าถึงผู้บริโภคมากและสามารถติดตามกลุ่ม เป้าหมายไปได้ทุกหนแห่ง

ระบบการส่งวิทยุกระจายเสียงที่อยู่ในเชิงพาณิชย์
1. ระบบ AM (Amplitude modulation)
2. ระบบ FM (Frequency modulation)

สื่อกระจายภาพและเสียง (Broadcast Media)
วิทยุ radio
loose spot คือการโฆษณาที่ใช้คั่นระหว่างรายการ โดยทั่วไป สปอต 1 ตัวจะมีความยาวโดยเฉลี่ย 30 วินาที จากตัวอย่างคือสปอตโฆษณาของใต้ฟ้าการแว่น และปั๊มน้ำมัน Esso

การโฆษณาทางวิทยุแบบสารคดี (Feature)
- กำหนดรูปแบบรายการได้ตามต้องการ
- บรรจุ Loose Spot ได้ 1 ตัว
- การโฆษณาแบบใช้ข้อความ "ชื่อสถานีวิทยุ ตามด้วยชื่อผู้อุปถัมภ์ ตามด้วยชื่อช่วงรายการ"

สื่อภาพยนตร์ Cinema
การ โฆษณาในโรงภาพยนตร์ของไทยนั้น มีมานานเกือบ 40 ปีที่แล้ว ส่วนใหญ่ภาพยนตร์โฆษณาเป็นเรื่องเดียวกับโฆษณาในสื่อโทรทัศน์ โดยนักโฆษณามักใช้เป็นสื่อเสริม ความยาวของภาพยนตร์โฆษณาจึงเหมือนกับความยาวทางโทรทัศน์คือ 30 วินาที 45 วินาที จากนั้นก็พัฒนามาเป็นการโฆษณาแฝงในภาพยนตร์ คือให้ผู้บริโภคชมภาพยนตร์ไปพร้อมกับการเห็นสินค้า นอกจากนั้นโรงภาพยนตร์บางแห่งยังมีการโฆษณาที่หลังบัตรเข้าชมภาพยนตร์ด้วย
จากตัวอย่างภาพยนต์เรื่อง Cast away เราจะเห็นว่ามีการโฆษณาแฝงของผลิตภัณฑ์ FedEx ที่พยายามให้ผู้ชมเห็นถึงความรวดเร็วในการส่งของและส่งได้แม้ในที่ๆห่างไกล จากตัวเมือง

ตัวอย่างภาพการโฆษณาทางสื่ออินเทอร์เน็ต
สื่ออินเทอร์เน็ต Internet
การ โฆษณาผ่านอินเทอร์เน็ต คือการนำภาพโฆษณาลงในเว็บไซด์ของคนอื่นที่มีชื่อเสียง และมีผู้นิยมเปิดเข้าไปเล่นเป็นจำนวนมาก เช่น http://www.sanook.com/ http://www.siamsport.co.th/ http://www.kapook.com/ เป็นต้น เนื่องจากระบบอินเทอร์เน็ตได้รับความนิยมอย่างแพร่หลายมากขึ้นทุกวัน เพราะสามารถเข้าถึงกลุ่มเป้าหมายได้อย่างกว้างขวางทั่วโลก และเป็นกลุ่มเป้าหมายที่แท้จริง มิใช่เกิดจากการคาดเดาเหมือนสื่ออื่นๆ ผู้ใช้อินเทอร์เน็ตมักเป็นผู้มีอำนาจและมีกำลังซื้อแทบทั้งสิ้น จึงทำให้การโฆษณาไม่สูญเปล่า นอกจากที่สามารถเข้าถึงกลุ่มเป้าหมายแบบไร้พรหมแดนแล้ว ยังสามารถทำงานได้ตลอด 24 ชั่วโมงอีกด้วย



ภาพโฆษณาทางสื่อกลางแจ้ง

สื่ออื่นๆ (Other Advertising Media)
สื่อกลางแจ้ง Outdoor media

เป็น สื่อโฆษณาที่สามารถแสดงเครื่องหมายการค้า สัญลักษณ์การค้า ชื่อผลิตภัณฑ์ คำขวัญ บรรจุภัณฑ์ ความเคลื่อนไหว และแสงสีในเวลากลางคืนได้ด้วยรูปและขนาดที่ใหญ่มาก สามารถทำให้เกิดความสะดุดตาสะดุดใจ เรียกร้องความสนใจจากประชาชนที่ผ่านไปมาได้เป็นอย่างดี เช่นป้ายโฆษณาตามทางแยก ตามแนวถนนทางออกนอกเมือง บนหลังคาตึกสูง ผนังตึกด้านนอกตึก

ประเภทของสื่อโฆษณากลางแจ้ง
1. ป้ายโฆษณาขนาดใหญ่ Billboard
2. ป้ายโฆษณาทางเท้า Cut out
3. โปสเตอร์ Poster
4. ป้ายผ้า Banner
5. ป้ายอิเล็กทรอนิกส์ Tri Vision
6. สื่ออาคาร Tower Vision



ตัวอย่างภาพการโฆษณาทางสื่อทางยานพาหนะ

สื่อยานพาหนะ Transit media

สื่อ ชนิดนี้คือการติดตั้งแผ่นป้ายโฆษณาไปกับยานพาหนะสาธารณะทุกชนิด ซึ่งอาจจะอยู่ในรูปแบบของการติดตั้งภายใน หรือภายนอกยานพาหนะ รวมถึงการติดตั้งโฆษณาที่ป้ายรถเมล์ ในบริเวณชานชลา สถานีขนส่ง ท่าอากาศยาน สถานนีระหว่างทาง รวมถึงการพิมพ์ข้อความบนตั๋วโดยสาร กระเป๋าเดินทาง การฉายภาพยนตร์โฆษณาทางวิดีโอเทป

ประเภทการโฆษณาทางยานพาหนะ
1. สื่อรถประจำทาง Bus Media
2. สื่อรถตุ๊ก ตุ๊ก Tuk Tuk Advertising
3. สื่อแท็กซี่ Taxi Advertising
4. สื่อรถไฟฟ้า BTS Advertising

ภาพการโฆษณาทางสื่อ ณ จุดซื้อ
สื่อ ณ จุดซื้อ Point of purchase media
คือ ลักษณะการโฆษณาค้าปลีกซึ่งทำภายในร้านค้า โดยการจัดตกแต่งร้านค้าทั้งภายในและภายนอก เพื่อให้เกิดความสวยสะดุดตา เพื่อกระตุ้นให้เกิดความสนใจและแวะชมสินค้า วัตถุประสงค์หลักของการโฆษณา ณ จุดซื้อ คือเพื่อเตือนความทรงจำของลูกค้าให้ระลึกถึงตรายี่ห้อ หรือเพื่อจะหยุดลูกค้าที่กำลังผ่านไปมาให้แวะชมและเกิดอารมณ์การซื้อ สรุปคือเป็นการกระตุ้นให้เกิดการตัดสินใจซื้อแบบฉับพลัน

วันศุกร์ที่ 16 มกราคม พ.ศ. 2552

Design และ Graphic Design คือ ?


+การออกแบบกราฟิก (Graphic Design)+

งานกราฟิกเป็นส่วนสำคัญที่มีบทบาทยิ่งต่อการออกแบบและกระบวนการผลิตสื่อ โดยเฉพาะสื่อที่ต้องการการสัมผัสรับรู้ด้วยตา (Visual Communication Design) ได้แก่ หนังสือ นิตยสารวารสาร แผ่นป้ายโฆษณา บรรจุภัณฑ์ แผ่นพับ แผ่นปลิว โทรทัศน์ ภาพยนตร์ เว็บไซต์ ฯลฯ นักออกแบบจะใช้วิธีการทางศิลปะและ หลักการทางการออกแบบร่วมกันสร้างสรรค์รูปแบบสื่อเพื่อให้เกิดศักยภาพ สูงสุดในการที่จะเป็นตัวกลางของกระบวนการสื่อความหมายระหว่างผู้ส่งสารและ ผู้รับสาร นักออกแบบกราฟิกจะต้องค้นหา รวบรวมข้อมูลต่างๆ ขบคิดแนวทางและวาง รูปแบบที่ดีที่สุดในอันที่จะทำให้สื่อนั้นสามารถดึงดูดกลุ่มเป้าหมาย (Target Group) ให้เกิดการรับรู้ยอมรับ และมีทัศนคติที่ดีต่อการตอบสนองสื่อที่มองเห็น (Visual Message)

วิธีการออกแบบ และวิธีแก้ปัญหาการออกแบบโดยการนำเอารูปภาพประกอบ (Illustration) ภาพถ่าย (Photography) สัญลักษณ์ (Symbol) รูปแบบและขนาดของตัวอักษร (Typography) มาจัดวางเพื่อให้เกิดการนำเสนอข้อมูลอย่างชัดเจน เกิดผลดีต่อกระบวนการ สื่อความหมาย และแสดงคุณค่าทางการออกแบบอย่างตรงไปตรงมา งานออกแบบกราฟิก จึงมีลักษณะเฉพาะซึ่งมีวิธีการและวัตถุประสงค์ที่แตกต่างไปจากงาน วิจิตรศิลป์ (Fine Arts) แต่ในบางกรณีผู้ออกแบบก็อาจจะสอดแทรกงานศิลปะแท้ๆ (Pure Arts) เข้าไปเป็นส่วนหนึ่งของการออกแบบกราฟิกเพื่อใช้สำหรับกระบวนการสื่อสาร การเรียนรู้ การตลาด การโฆษณา การประชาสัมพันธ์ ฯลฯ ซึ่งอาจรวมกันเรียกว่า เป็นงานประยุกต์ศิลป์ (Apply Arts) ถ้าเป็นงานที่มีลักษณะเน้นหนักไปทางด้านธุรกิจ การพาณิชย์ ก็จะเรียกว่าเป็นงานออกแบบพาณิชย์ศิลป์ (Commercial Arts) และถ้าเป็น การเน้นวัตถุประสงค์ในแง่ของการสร่างสรรค์สื่อเพื่อการสื่อความหมายก็จะ รวมเรียกว่าเป็นงานออกแบบทัศนสื่อสาร (Visual Communication Design)

...

+ความหมายของการออกแบบกราฟิก (Definition of Graphic Design)+

ได้มีผู้ให้ความหมายของคำว่า “กราฟิก” ไว้อยู่หลายความหมายด้วยกัน ในสมัยโบราณหมายความถึง ภาพลายเส้นหรือภาพที่เกิดจากการวัด จากการขีดเขียนที่แสดงด้วยตารางหรือแผนภาพ การวาดเขียนการระบายสี การสร้างงานศิลปะบนพื้นระนาบ หรืออาจกล่าวอีกนักหนึ่งว่างานกราฟิกหมายถึงกระบวนการออกแบบต่างๆ ในสิ่งที่เป็นวัสดุ 2 มิติ คือมีความกว้างและความยาวเท่านั้น เช่น งานออกแบบบ้านของสถาปนิกในการเขียนแบบ ตัวภาพและรายละเอียดบนแปลนบ้านเรียกว่าเป็นงานกราฟิกการเขียนภาพเหมือนจริง ของจิตรกร การออกแบบภาพโฆษณาของนักออกแบบ การออกแบบฉลาก หรือลวดลายหรือภาพประกอบ หรือตัวอักษรที่ปรากฏบนฉลากสินค้า บนตัวสินค้าหรือบนภาชนะบรรจุสินค้า ฯลฯ เหล่านี้จัดว่าเป็นงานกราฟิกทั้งสิ้น คำ ว่าการออกแบบ (Design) ก็มีความหมายเป็นหลายนัยเช่นกัน จากรายศัพท์ลาตินคำว่า Design ซึ่งมาจาก Designare หมายถึงกำหนดออกมา กะหรือขีดหมายไว้ เป้าหมายที่จะแสดงออกซึ่งหมายถึงสิ่งที่อยู่ในอำนาจความคิด (Conscious) อันอาจเป็นโครงการ รูปแบบหรือแผนผังที่ศิลปินกำหนดขึ้นด้วยการจัดท่าทางถ้อยคำ เส้น สี รูปแบบ โครงสร้างและวัสดุต่างๆ โดยใช้หลักเกณฑ์ทางความงามหรือสุนทรียภาพ (Aesthetic Principle) ประดิษฐ์คิดสร้างสรรค์ขึ้นจากสิ่งที่ง่ายที่สุด ไปจนสิ่งที่ยุ่งยากสลับซับซ้อนเต็มที่

...



+ กราฟิกดีไซน์+

กราฟิกดีไซน์ คือ การออกแบบรูปภาพสัญลักษณ์ที่มองเห็นด้วยตา (เป็นทัศนศิลป์อย่างหนึ่ง) และมีหน้าที่สื่อความหมายจากสัญลักษณ์สู่ความหมาย คนส่วนใหญ่มักเข้าใจผิดว่ากราฟิกดีไซน์เป็นงานที่ทำด้วยคอมพิวเตอร์หรือเป็นการสร้างแอนิเมชันสามมิติ ซึ่งในความเป็นจริง คอมพิวเตอร์เป็นเพียงเครื่องมือชิ้นหนึ่งที่ช่วยในการสร้างงานกราฟิกดีไซน์ได้ เช่นเดียวกับ ดินสอ ปากกา พู่กันกราฟิกดีไซน์ เป็นการทับศัพท์มาจากภาษาอังกฤษ graphic design คำว่า graphic มีคำในภาษาไทยที่ ใช้แทนได้คือ เรขศิลป์, เลขนศิลป์ หรือ เรขภาพ ส่วน design แปลว่า การออกแบบ เมื่อรวมกันแล้ว กราฟิกดีไซน์จึงมีหมายความว่า การออกแบบเรขศิลป์ หรือ การออกแบบเลขนศิลป์Graphic design criteria

. . .

+บรรทัดฐานในการออกแบบ+

1. การตอบสนองประโยชน์ใช้สอย (Function) เป็น ข้อสำคัญมากในการออกแบบทั้งหมด ในงานออกแบบ กราฟิกนั้น ประโยชน์ใช้สอยมีอิทธิพลกับงานที่เราออกแบบ เช่น งานออกแบบหนังสือ ต้องอ่านง่าย ตัวหนังสือชัดเจนไม่วาง เกะกะ กันไปซะหมด หรืองานออกแบบเว็บไซต์ถึงจะสวยอย่างไร แต่ถ้าโหลดช้าทำให้ผู้ใช้งานต้องรอนาน ก็ไม่นับว่าเป็นงาน ออกแบบเว็บไซต์ที่ดี หรืองานออกแบบซีดีรอม ถ้าปุ่มที่มีไว้สำหรับกดไปยังส่วนต่าง ๆ ของเนื้อหานั้นวางเรียงอย่าง กระจัดกระจาย ทุกครั้งที่ผ้าใช้งานจะใช้ก็ต้องกวาดตามองหาอยู่ตลอด อย่างนี้ก็เรียกว่าเป็นการออกแบบที่ไม่สนอง ต่อประโยชน์ใช้สอย เป็นงานออกแบบไม่ดี ดังนั้นนักออกแบบจึงต้องคำนึงถึงประโยชน์ใช้สอยเป็นเรื่องสำคัญอันดับแรก ในการออกแบบเสมอ

2. ความสวยงามพึงพอใจ (Aesthetic) ในงานที่มีประโยชน์ใช้สอยดีพอ ๆ กัน ความงามจะเป็นเกณฑ์ตัดสิน คุณค่าของงาน โดยเฉพาะงานออกแบบกราฟิก ซึ่งถือเป็นงานอกแบบที่มีประโยชน์ใช้สอยน้อยกว่างานออกแบบด้านอื่น อย่าง งานออกแบบผลิตภัณฑ์ งานออกแบบสถาปัตยกรรมต่าง ๆ ฯลฯ ความสวยงามจึงเป็นเรื่องสำคัญและมีอิทธิพลในงาน ออกแบบกราฟิกอย่างมาก

3. การสื่อความหมาย (Meaning ) เนื่องจากงานศิลปะนั้นจะมีคุณค่าก็ต่อเมื่อมันสื่อความหมายออกมาได้ งาน กราฟิกก็คืองานศิลปะเช่นกัน การสื่อความหมายจึงเป็นสิ่งที่นักออกแบบขาดเสียไม่ได้ในการออกแบบ ต่อให้งานที่ได้สวยงาม อย่างไรแต่ไม่สามารถตอบโจทย์ของงานออกแบบ หรือสื่อสิ่งที่ผู้ออกแบบคิดเอาไว้ได้ งานกราฟิกนั้นก็จะมีคุณค่าลดน้อย ลงไป

...

+Graphic Eyes+

เรื่องของการมองภาพนั้นเป็นเรื่องที่ฝังอยู่ในสามัญสำนึก อยู่ในความรู้สึกหรือที่หลายคนมักเรียกกันว่าเซ็นส์ (Sense) ของเราอยู่แล้ว มนุษย์ทุกคนมีความสามารถในการรับรู้เรื่องความสวยงาม ถึงแม้จะไม่เหมือนกันทุกคน แต่ส่วนใหญ่ก็มีแนวโน้มที่เหมือนกันคล้ายกันกับพื้นฐานในศิลปะที่ติดตัวทุก คนมาตั้งแต่เกิดเพียงแต่ว่าใครจะมีมากหรือน้อย ใครจะได้รับการฝึกฝนมากกว่ากันหรือใครจะดึงออกมาใช้งานได้มากกว่ากัน
เราในฐานะผู้ออกแบบต้องก้าวข้ามพื้นฐานสามัญของมนุษย์นี้ออกมาเพราะการมอง ภาพสวยไม่สวยเพียงอย่างเดียวคงไม่พอ และไม่สามารถทำให้เราออกแบบงานกราฟิกที่ดีได้ การมองภาพที่สามารถสร้างให้เราเป็นนักออกแบบกราฟิกได้นั้น จะต้องเป็นการมองเข้าไปในแก่นของภาพ ซึ่งมีเรื่องหลักอยู่2 เรื่องด้วยกัน คือ

1. มองเข้าไปในความหมายของภาพ (Meaning) ที่นัก ออกแบบต้องการสื่อ

2. มองลึกเข้าไปในรายละเอียดขององค์ประกอบต่าง ๆ (Element) ที่อยู่ภายในภาพ

รวมทั้งมีความเข้าใจและคิดวิเคราะห์สิ่งต่าง ๆ ข้างต้น ให้เป็นแบบอย่างที่เก็บอยู่ในคลังสมองของเรา เพื่อนำกลับมาใช้ในการออกแบบในภายหลัง

. . .

+ภาษาภาพ : Visual Language +

มนุษย์เราเป็นสัตว์สังคมที่มีความต้องการใช้ชีวิตอยู่รวมกันเป็นกลุ่มก้อน เป็นกลุ่มสังคม ดังนั้นจึงแทบเป็นไปไม่ได้ที่มนุษย์จะหลีกหนีการปฏิสัมพันธ์ระหว่างกัน มนุษย์จึงมีการใช้ภาษาเป็นเครื่องมือในการสื่อสารสร้างความเข้าใจระหว่างกัน และกัน
ตัวภาษามีจุดสำคัญอยู่ที่การสื่อความหมายให้มีความเข้าใจตรงกัน เช่น เรามีภาษาพูดที่ใช้สื่อสารระหว่างกัน และเป็นภาษาที่เราเลือกใช้ได้ง่ายที่สุดแค่เปล่งเสียงออกมาเท่านั้น แต่ลองนึกภาพ ถ้าสมมติว่าเช้าวันหนึ่งเราตื่นขึ้นมากลางกรุงเม็กซิโกเราจะพูดกับใคร พูดกันอย่างไร ………..
ภาษาพูดจึงมีข้อจำกัด โดยเฉพาะข้อจำกัดในกลุ่มคนที่ใช้ภาษาพูดคนละภาษา (หลายคนอาจจะพูดว่าภาษาอังกฤษก็น่าจะเป็นสื่อกลางได้ แต่ก็ยังมีอีกหลายคนที่ส่ายหน้าปฎิเสธ) ภาษาพูดไม่สามารถทำให้คนสามารถเข้าใจได้ตรงกันทั่วโลก มนุษย์จึงใช้วิธีการสื่อสารระหว่างกันทางอื่นนั่นก็คือภาษาภาพ ซึ่งเป็นทางเลือกที่ดีกว่า

. . .

+การรับรู้ภาพ : Perception Image +

การรับรู้ภาพเกิดจากการมองเห็นด้วยตาเป็นด่านแรก ผ่านการประมวลผลจากสมองและจิตใจ เป็นการรับรู้และทำความเข้าใจ มีความหมายของใครของมัน และการรับรู้ของแต่ละคนขึ้นอยู่กับการฝึกฝน การมองงานมาก ๆ การพยายามสร้างความ เข้าใจภาพเปรียบเหมือนเรายิ่งฝึกพูด ฝึกฟัง ภาษาอังกฤษบ่อย ๆ ก็จะทำให้เก่งภาษาอังกฤษได้นั่นเองเราแบ่งภาพที่รับรู้ได้ออกเป็น 2 ประเภทใหญ่ ๆ ด้วยกันคือ

ภาพที่เราเห็น (Visual Image) ภาพที่เราเห็นคือ ภาพที่ผ่านสายตากระทบโสตประสาทของเรา
ภาพที่เรานึกคิด (Conceptual Image)ภาพที่เรานึกคิดคือ ภาพที่ผ่านการมองเห็น ผ่านขบวนการประมวลผลจากสมองแล้วเลยนึกสร้างเป็นภาพอื่นตาม

วันอาทิตย์ที่ 11 มกราคม พ.ศ. 2552

เทคนิคการถ่ายภาพ









































การถ่ายภาพทิวทัศน์ (Land and SeScape)
นักถ่ายภาพสมัครเช่นนิยมถ่ายภาพประเภทนี้มาก เพราะสามารถถ่ายได้ง่าย สะดวก ถ่ายได้ทุกหนทุกแห่งที่มีโอกาสผ่านไป ไม่ว่าจะเป็นทิวทัศน์ป่าเขาลำเนาไพร น้ำตก หรือท้องทะเลก็ตาม อย่างน้อยผู้ถ่ายภาพก็สามารถเก็บภาพไว้เป็นที่ระลึกถึงความหลักการถ่ายภาพทิวทัศน์ ควรถ่ายขณะที่ท้องฟ้าแจ่มใส จะได้ภาพสวยงาม ชัดเจน ถ้าอากาศมืดครึ้มหรือฝนตก ภาพที่ได้จะมีสีทึบ ขาดรายละเอียด การบันทึกความสวยงามของลักษณะภูมิประเทศตามธรรมชาติดังกล่าว จะมีคุณค่าและความสวยงามนั้น ควรต้องพิจารณาถึงองค์ประกอบที่ช่วยสร้างเรื่องราวให้เกิดขึ้นพยายามเลือกมุมกล้องที่แปลกตา คอยจังหวะให้มีลักษณะแสงสีที่สวยงาม สามารถสร้างบรรยากาศให้ผู้ดูเกิดอารมณ์คล้อยตาม เช่น ภาพที่มีหมอกในฤดูหนาว ควัน ฝนตหรือพายุ ฯลฯ บรรยากาศ แสงสีในเวลาเข้ามืดก่อนจะสว่าง หรือในตอนเย็นพระอาทิตย์กำลังจะตกจะมีแสงสีที่ให้ความรุนแรงมีสีน้ำเงิน ม่วง เหลือง แสดและแดงสลับกับก้อนเมฆรูปร่างต่าง ๆ ดูสวยงาม การถ่ายภาพทิวทัศน์นิยมเปิดช่องรับแสงให้แคบเพื่อช่วยให้ภาพมีความคมและชัดลึกตลอด แม้บางครั้งจะต้องใช้ความเร็วชัตเตอร์ต่ำ สำหรับเลนส์ที่ใช้ในการถ่ายภาพทิวทัศน์ นอกจากเลนส์ธรรมดาติดกล้องแล้ว ควรมีเลนส์มุมกว้างและเลนส์ถ่ายภาพไกลที่มีขนาดความยาวโฟกัสประมาณ 105 มม. หรือ 250 มม. เพื่อช่วยให้ได้ภาพที่มีมุมแปลกตาดีขึ้น ถ้าเป็นการถ่ายภาพขาว – ดำ ควรมีแผ่นกรองแสงสีเหลือ สีส้ม หรือสีแดงติดไปด้วย เพราะฟิลเตอร์สีดังกล่าวจะช่วยให้ภาพขาว – ดำ มองเห็นก้อนเมฆขาวตัดกับท้องฟ้า ส่วนการถ่ายภาพสีก็ควรมีแผ่นกรองแสงตัดหมอกหรือแผ่นกรองแสงโพลาไรซ์เป็นอย่างน้อย นอกจากนั้นอาจใช้แผ่นกรองแสงสำหรับเปลี่ยนแปลงสีของภาพเพื่อให้ได้ภาพทิวทัศน์ที่มีสีสันสวยงามแปลกตายิ่งขึ้น



การถ่ายภาพระยะใกล้ (Close up)
การถ่ายภาพระยะใกล้เป็นการถ่ายภาพวัตถุสิ่งของที่มีขนาดเล็กหรือเลือกถ่ายภาพเฉพาะบางส่วนของวัตถุ
ในระยะใกล้ให้มองเห็นส่วนละเอียดต่าง ๆ ชัดเจนยิ่งขึ้น เช่น ถ่ายภาพเหรียญ แมลง ลายไม้ ดอกไม้
หรือวัตถุสิ่งของที่มีขนาดเล็กต่าง ๆ

การถ่ายภาพระยะใกล้ต้องมีอุปกรณ์ดังนี้
1. กล้องถ่ายภาพ นิยมใช้กล้องแบบสะท้อนเลนส์เดี่ยว ซึ่งจะไม่เกิดความเหลื่อมขณะมองภาพที่ช่องเล็งภาพ
2. เลนส์ที่ใช้ควรเป็นเลนส์แมโคร (Macro) แต่ถ้าสีเลนส์มาตรฐานก็สามารถใช้เลนส์ถ่ายใกล้ (Close – up
lens) ชนิดสวมใส่หน้าเลนส์แบบแผ่นกรองแสง (Filter) ทั่วไป หรืออาจใช้กระบอกต่อ (Extension tube)
หรือใช้ส่วนพับยืด (Bellow) ต่อคั่นระหว่างเลนส์กับตัวกล้อง
3. ขาตั้งกล้อง
4. สายไกชัตเตอร์
การปรับหาระยะความคมชัดของการถ่ายภาพแบบนี้ค่อนข้างยาก เพราะเลนส์มีช่วงความชัดสั้นมาก ระยะหน้า
และระยะหลังของวัตถุจะพร่ามัว ดังนั้น ควระปิดรูรับแสงให้แคบเพื่อให้ภาพที่ได้มีความชัดลึก



การถ่ายภาพดอกไม้
ภาพดอกไม้จะแสดงให้เห็นถึงลักษณะ รูปทรง รูปร่าง และสีสันที่สวยงาม สามารถเน้นให้เห็นลวดลายของกลีบดอกตลอดจนแนวเส้นของกิ่งก้านช่วยให้ภาพมีความงดงาม
โดยเฉพาะการถ่ายภาพดอกไม้ในระยะใกล้จะให้สีตื่นตาตื่นใจยิ่งขึ้น ไม่ว่าจะเป็นดอกไม้ป่าหรือดอกไม้ที่ปลูกไว้ตามบ้านเรือน เวลาที่เหมาะสมในการถ่ายภาพดอกไม้
้ควรเป็นเวลาเช้า เพราะดอกไม้จะให้ความรู้สึกสดชื่น หากมีหยดน้ำค้างเกาะอยู่ตามกลีบดอกหรือหาน้ำหวานหรือน้ำผึ้งหยอดลงบนดอกไม้ เพื่อล่อให้ผึ้งหรือแมลงมาตอมก็จะได้ภาพที่สวยงามเป็นธรรมชาติมากยิ่งขึ้น แสงที่ใช้ในการถ่ายภาพดอกไม้ควรเป็นแสงธรรมชาติโดยจัดให้แสงเข้าทางด้านข้าง ถ้าเป็นดอกไม้ชนิดที่ควรเน้นให้เห็น
ลักษณะความบางและโครงสร้างของกลีบดอก ควรให้แสงส่องจากด้านหลังของดอกไม้และจัดให้พื้นหลังมีสีค่อนข้างเข้ม และต้องระวังอย่าให้แสงทวนเข้าที่หน้าเลนส์ของกล้อง
การถ่ายภาพดอกไม้ ควรต้องใช้ขาตั้งกล่าวเพื่อช่วยในการปรับประยะความคมชัดที่แน่นอน พยายามจัดมุมกล้อง เพื่อหลีกเลี่ยงฉากหลังที่รกรุงรัง หรือแก้ไขโดยใช้กระดาษสีเทา
หรือสีดำไปวางไว้ทางด้านหลังของดอกไม้ โดยใช้สีของกระดาษให้ตัดกับสีของดอกไม้
เพื่อความเด่นชัดหรืออาจใช้วิธีเปิดช่องรับแสงให้กว้างเพื่อจะได้ฉากหลังที่พร่ามัว
อาจใช้เลนส์ถ่ายไกลหรือเลนส์ซูมก็จะช่วยให้ได้ภาพดอกไม้ที่มีลักษณะเด่นชัดเฉพาะ สวยงามอีกแบบหนึ่ง



การถ่ายภาพเวลากลางคืน (Night Picture)


การถ่ายภาพเวลากลางคืน ได้แก่ การถ่ายภาพที่อาศัยแสงสว่างจากไฟฟ้าตามท้องถนน ป้ายนีออนโฆษณา น้ำพุ การยิงพลุ ห้องโชว์สินค้า ไฟประดับในวันเฉลิมฉลองต่าง ๆ แสงไฟจากรถยนต์ แสงเทียน สายฟ้าแลบ ดวงจันทร์ และดวงดาวบนท้องฟ้า
ความสวยงามต่าง ๆ ที่เราสามารถมองเห็นได้ในเวลาค่ำคืนดังกล่าว เราสามารถบันทึกภาพที่งดงามเหล่านั้นด้วยกล้องถ่ายภาพ
ได้เช่นเดียวกับการถ่ายภาพในเวลากลางวัน การถ่ายภาพในเวลากลางคืนนั้นต้องมีอุปกรณ์ที่จำเป็นดังนี้

1. กล้องถ่ายภาพชนิดที่มีความเร็วชัตเตอร์ B หรือ T
2. ขาตั้งกล้อง
3. สายไกชัตเตอร์
4. นาฬิกาจับเวลา
5. ไฟฉายดวงเล็ก ๆ
6. สมุดบันทึกสำหรับจดรายละเอียด เช่น เวลาในการเปิดหน้ากล้อง

แสงสว่างจากหลอดไฟต่าง ๆ ในเวลากลางคืนนั้น เราจะวัดแสงลำบากและไม่แน่นอนจึงควรใช้ประสบการณ์ที่ได้ทดลอง
ถ่ายและจดบันทึกรายละเอียดไว้ในแต่ละครั้งมาพิจารณา ปกติจะถ่ายภาพด้วยการตั้งความเร็วไว้ที่ B หรือ T แล้วนับเวลา
(Time exposure) ใช้เวลาในการเปิดม่านชัตเตอร์ เป็นวินาทีหรือนาทีก็ได้ ซึ่งขึ้นอยู่กับลักษณะและปริมาณของแสง
ในขณะที่ถ่ายภาพ เนื่องจากต้องใช้เวลานานในการเปิดม่านชัตเตอร์ จึงจำเป็นต้องใช้ขาตั้งกล้องเพื่อป้องกันกล้องเคลื่อนที่
และสั่นไหว ขาตั้งกล้องควรเป็นชนิดที่แข็งแรงมีที่สำหรับปรับมุมยกหน้ากล่องขึ้นและลงได้ และสามารถหมุนกล้องไปทางซ้าย
และขวาที่เรียกว่า Pan กล้องได้ ซึ่งเราจะได้ถ่ายภาพออกมามีลักษณะและสีสันที่แปลกออกไปอีกแบบหนึ่งส่วนเลนส์ที่ใช้
หากเป็นเลนส์ที่สามารถซูมภาพได้ ก็ยิ่งจะได้ภาพที่น่าสนใจเพิ่มขึ้นอีกนอกจากใช้ฟิล์มขาว–ดำ ถ่ายภาพไฟในเวลากลางคืน
ได้แล้ว อาจใช้ฟิล์มเนกาทิฟสีหรือสไลด์สีก็ได้ ซึ่งจะได้ภาพที่มีสีสวยงามยิ่งขึ้น การเลือกใช้ฟิล์มสไลด์สีขึ้นอยู่กับสิ่งที่เราจะถ่าย
เช่น การถ่ายภาพไฟตามถนน ป้ายนีออนโฆษณา ไฟประดับ ก็ควรใช้ฟิล์มแสงแดด (Day Light) ภาพที่ได้จะมีสีค่อนข้างเหลือง
อาจใช้ฟิลเตอร์สีฟ้าสวมหน้าเลนส์เพื่อแก้สีก็ได้ ถ้าเป็นภาพการแสดงบนเวที งานประเพณีต่าง ๆ ควรใช้ฟิล์มที่มีควาไวแสงสูง
เช่น 200 ISO, 400 ISO เพื่อให้สามารถจับภาพเคลื่อนไหวได้ ส่วนภาพดวงจันทร์หรือดวงดาวควรใช้ฟิล์มที่ใช้กับแสง
ไฟทังสเตน จะได้สีที่ถูกต้องยิ่งขึ้น สำหรับการเลือกใช้ความไวแสงฟิล์ม การเปิดหน้ากล้องและเวลาในการถ่ายภาพ ลักษณะของแสงไฟจากแหล่งต่าง ๆ ในเวลากลางคืนนั้นได้มีบันทึกไว้เป็นแนวทางดังนี้



การถ่ายภาพสัตว์ (Pets & Animals)

การถ่ายภาพสัตว์อาจแบ่งออกได้เป็น 3 ประเภท

1. การถ่ายภาพสัตว์เลี้ยงในบ้าน สัตว์ที่เลี้ยงในบ้าน เช่น สุนัข แมว นก ปลา แต่ละชนิดก็มีรูปร่างลักษณะ สีสัน กิริยาท่าทาง และนิสัยที่แตกต่างกันออกไป เป็นสัตว์ที่น่ารักทั้งสิ้น สามารถเลือกมุมถ่ายภาพให้มีความสวยงามและน่ารักได้ พยายามใช้ความรวดเร็วในการจับภาพในจังหวะที่น่าประทับใจต่าง ๆ

2. การถ่ายภาพในสวนสัตว์ ในสวนสัตว์จะเป็นที่รวมของสัตว์หลายชนิด ซึ่งมาจากทั่วทุกมุมโลก การถ่ายภาพสัตว์ในส่วนสัตว์ควรไปถ่ายภาพในตอนเช้า ที่อากาศไม่ร้อน สัตว์จะมีอารมณ์ดี โดยเฉพาะเวลาให้อาหารสัตว์เป็นเวลาที่เหมาะที่สุดในการถ่ายภาพ เพราะสัตว์จะแสดงกิริยาต่าง ๆ ในกรณีที่ต้องการถ่ายภาพ ผ่านลูกกรงเหล็ก หรือรั้วกัน ควรเปิดช่องรับแสงของเลนส์ให้กว้าง ให้กล้องหากจากลูกกรงประมาณครึ่งเมตร ลูกกรงหรือรั้วกั้น จะพ้นระยะชัดเกิดความพร่ามัว ทำให้มองเห็นเฉพาะภาพสัตว์และยังช่วยหลบฉากหลังที่รกรุงรังให้หายไปได้อีกด้วย
กล้องที่ใช้ถ่ายภาพสัตว์ ควรใช้กล้องแบบ 35 มม. สะท้อนเลนส์เดี่ยว โดยใช้เลนส์ซูมหรือเลนส์ถ่ายระยะไกล้ 135 มม. – 250 มม. เพื่อให้สามารถดึงภาพให้มีขนาดใหญ่ได้ ส่วนฟิล์มควรใช้ฟิล์มที่มีความไวแสงสูง 250 ISO หรือ 400 ISO

3. การถ่ายภาพสัตว์ป่า เป็นการออกไปถ่ายภาพสัตว์ในป่าเขาตามธรรมชาติ ซึ่งในบ้านเมืองเราคงหาโอกาสได้ยาก เพราะไม่ค่อยมีสัตว์ป่าให้ได้เห็นกัน จะมีบ้างก็พวกเก้ง กวาง ในป่าสงวนบ้างแห่งเท่านั้น การรอบถ่ายภาพสัตว์ป่า จำเป็นต้องถ่ายจากบังไพร หรือซุ้มไม้มิดชิดเพื่อไม่ให้สัตว์มองเห็นและกลัว ควรต้องศึกษาแหล่งที่พักหลับนอน แหล่งอาหาร และแหล่งน้ำของสัตว์อย่างน้อยจะทำให้มีโอกาสการถ่ายภาพได้ง่ายเข้า อุปกรณ์ที่จำเป็นที่สุดในการถ่ายภาพสัตว์ป่าคือเลนส์ระยะไกล มีความยาวโฟกัสสูง ไม่ต่ำกว่า 400 มม. – 1200 มม. หรือใช้ Teleconverter 2X เพื่อช่วยให้สามารถถ่ายภาพในระยะไกล ๆ ได้ กล้องควรตั้งบนข้างตั้งใช้ฟิล์มที่มีความไวแสงสูง จะได้ภาพที่มีความคมชัด แน่นอน



การถ่ายภาพย้อนแสง (Silhouete)
การถ่ายภาพย้อนแสงหรือภาพเงาดำ ภาพประเภทนี้นักถ่ายภาพสมัครเล่นไม่ค่อย
ให้ความสนใจ เพราะจะได้ภาพที่ไม่ชัด ไม่เห็นรายละเอียดของวัตถุ ถ้าถ่ายภาพ
คนจะมองดูแล้วมืด แต่ที่จริงแล้วภาพย้อนแสงไม่ว่าจะเป็นภาพสี หรือขาว–ดำ
ก็ตามจะช่วยให้เราเรียนรู้เรื่องรูปร่าง (Shape) ของวัตถุที่บังแสงอยู่ นักถ่ายภาพ
อาชีพมักจะเสาะแสวงหาภาพประเภทนี้อยู่เสมอ เพราะภาพย้อนแสงจะให้ทั้งความงาม
ให้อารมณ์ ให้สีสันรุนแรง ให้ความแปลกตาไปอีกลักษณะหนึ่งการถ่ายภาพย้อนแสง
ควรถ่ายให้ภาพมีช่วงความชัดลึก โดยเปิดช่องรับแสงให้แคบกว่าปกติเล็กน้อย
พยายามเลือกวัตถุที่มีโครงร่างที่สวยงามหามุมย้อนแสง โดยวางจังหวะของดวงอาทิตย์ให้พอดี


การเขียนภาพด้วยแสงไฟ
การถ่ายภาพแบบให้แสงไฟสีต่าง ๆ ต้องใช้ห้องที่มืดสนิทโดยมีฉากผ้าหรือกระดาษสีดำ แสงไฟสีทำได้โดยใช้ไฟฉายธรรมดาขนาดเล็ก หุ้มกระดาษแก้วสีต่าง ๆ ตามความต้องการ จัดตั้งไฟแฟลชให้ส่องตรงไปยังแบบ แบะอาจใช้แฟลชอีก 1 ดวง ติดสนูท (Snoot) เป็นกรวยบีบแสง ให้ส่องตรงไปเฉพาะจุดที่ผมเพื่อมิให้ตัวแบบกลืนไปกับความมืดของฉากหลัง
เมื่อจัดฉากเรียบร้อยแล้วให้แบบยืนแสดงท่าตามต้องการ ให้ผู้วาดเส้น แสง สี คลุมพาดดำถือไฟฉายหุ้มกระดาษแก้วสี ยืนด้านหลังของแบบกล้องถ่ายภาพต้องตั้งบนขาตั้งกล้อง เปิดความเร็วชัตเตอร์ที่ B ส่วนช่องรับแสงตั้งไว้ที่ f11 เมื่อทุกอย่างเรียบร้อยแล้วก็ให้กด ชัตเตอร์ ผู้วาดเส้นจะเริ่มเปิดไฟฉายวาดแสงสีต่าง ๆ ตามต้องการ เช่น ใช้กระดาษแก้วสีแดงวาด 15 วินาที แล้วเปลี่ยนกระดาษแก้วเป็นสีฟ้า 10 วินาที กระดาษแก้วสีเหลืองอีก 5 วินาที หลังจากนั้นผู้วาดแบบจะออกมาจากฉากเปิดไฟแฟลช 1 ครั้ง แล้วปิดชัตเตอร์จะได้ภาพตามต้องการ
ส่วนภาพแสงเทียนประกอบกับดอกไม้ไฟนั้น ก็จัดฉากให้เป็นสีดำ จัดแบบเทียนไขสีต่าง ๆ ให้ได้ขนาดตามต้องการ ตั้งบนแผ่นไม้รองเทียนที่มีขาตั้งสีดำกลมกลืนกับความมืด กล้องถ่ายภาพตั้งบนขาตั้งกล้อง เปิดความเร็วชัตเตอร์ที่ B ช่องรับแสงเปิดที่ f11 เมื่อเรียบร้อยแล้ว จุดเทียนไขกดชัตเตอร์ใช้เวลาประมาณ 5 วินาที จากนั้นให้ผู้ช่วยที่คลุมผ้าดำ จุดดอกไม้ไฟวนไปมารอบเทียนไขอีกประมาณ 3 – 5 วินาที แล้วปิดชัตเตอร์


การถ่ายภาพเคลื่อนไหว (Action)
การถ่ายภาพเคลื่อนไหว หมายถึง การถ่ายภาพของวัตถุที่เคลื่อนไหว เช่น คนวิ่ง กระโดดโลดเต้น เล่นชิงช้ากระโดดสูง
ว่ายน้ำ ปั่นจักรยาน รถกำลังแล่น หรือการแข่งขันกีฬาด้านความเร็วประเภทต่าง ๆ การถ่ายภาพวัตถุที่เคลื่อนไหว
ดังกล่าวอาจจะทำได้ใน 3 ลักษณะ คือ

1. การจับภาพวัตถุที่กำลังเคลื่อนไหวให้หยุดนิ่ง (Stop – action) การถ่ายภาพในลักษณะนี้ต้องตั้งความเร็วชัตเตอร์ให้สูง
เช่น 1/250, 1/500 หรือ 1/1000 วินาที ตามความเหมาะสมกับความเร็วของวัตถุที่กำลังเคลื่อนที่ เมื่อตั้งความเร็วชัตเตอร์
สูง ๆ จำเป็นต้องเปิดช่องรับแสงให้กว้างขึ้น เพื่อชดเชยให้แสงผ่านเข้าไปทำปฏิกิริยากับฟิล์มให้มากพอ
การถ่ายภาพวัตถุที่กำลังเคลื่อนไหวให้หยุดนิ่งได้นั้น จะตั้งความเร็วชัตเตอร์เท่าใดย่อมขึ้นอยู่กับองค์ประกอบ 4 ประการ คือ
1) ความเร็วของวัตถุที่กำลังเคลื่อนไหว
2) ทิศทางการเคลื่อนไหวของวัตถุ
3) ระยะทางจากกล้องถึงวัตถุ
4) ความยาวโฟกัสของเลนส์

2. การถ่ายภาพวัตถุที่เคลื่อนไหวดูแล้วให้รู้สึกว่าเหมือนกำลังเคลื่อนไหว การถ่ายภาพในลักษณะนี้ ต้องตั้งความเร็วชัตเตอร์
ให้ช้า ๆ เช่น 1/30 วินาที, 1/15 วินาที หรือ 1/8 วินาที เป็นต้น เมื่อตั้งความเร็วชัตเตอร์ช้า ก็ต้องเปิดช่องรับแสงให้เล็กลง
ภาพที่ได้จะปรากฏว่าสิ่งที่กำลังเคลื่อนไหวจะดูพร่า ทำให้เห็นว่าวัตถุนั้นกำลังเคลื่อนที่ส่วนวัตถุหรือสิ่งที่อยู่นิ่งจะคมชัด
และการถ่ายภาพลักษณะนี้ควรจับถือกล้องให้นิ่งและมั่นคง หรือควรใช้ขาตั้งกล้องช่วย เพื่อไม่ให้กล้องสั่นไหว

3. การถ่ายภาพวัตถุที่กำลังเคลื่อนไหวให้เห็นวัตถุชัด ส่วนฉากหลังพร่ามัวเป็นทางยาว การถ่ายภาพในลักษณะนี้ จะต้อง
แพนกล้อง (Paning) ตามวัตถุที่กำลังเคลื่อนไหว พร้อม ๆ กับการกดไกชัตเตอร์ ความเร็วชัตเตอร์ความตั้งให้ช้า เช่น
1/60วินาที,1/30วินาทีหรือช้ากว่าทั้งนี้ขึ้นอยู่กับความเร็วของวัตถุที่ เคลื่อนที่ด้วยการปรับระยะชัดให้ปรับไปตรงจุดที่วัตถุ
เคลื่อนที่ผ่าน



การถ่ายภาพหุ่นนิ่ง (Still life)

การถ่ายภาพหุ่นนิ่ง หมายถึง การถ่ายภาพวัตถุสิ่งของต่าง ๆ เช่น แจกันดอกไม้ ถ้วยจานช้อนซ้อม ขวดเหล้า เบียร์ แก้ว บุหรี่ น้ำหอม เสื่อผ้า รองเท้า ผัก ผลไม้ อาหาร ฯลฯ จุดมุ่งหมายส่วนใหญ่ก็เพื่อนำภาพไปจัดทำเป็นสื่อในการโฆษณา เช่น ทำปกหนังสือ วารสาร โปสเตอร์ หรือสิ่งพิมพ์อื่น ๆ
การฝึกถ่ายภาพหุ่นนิ่ง จะช่วยให้เราได้เรียนรู้เทคนิคต่าง ๆในการถ่ายภาพได้เป็นอย่างดี ทั้งนี้เพราะวัตถุสิ่งของต่าง ๆที่นำมาถ่ายภาพจะอยู่นิ่งไม่เคลื่อนไหวเราสามารถทดลองจัดภาพได้หลาย ๆแบบตามต้องการ ส่วนการใช้แสงก็ทำได้หลายลักษณะ อาจใช้แสงธรรมชาติ แต่ส่วนมากมักใช้แสงไฟประดิษฐ์ เพราะสามารถควบคุมทิศทางตลอดจนปริมาณของแสงสว่างได้ตามความเหมาะสม

ขั้นตอนการถ่ายภาพหุ่นนิ่ง
1. จัดสถานที่ได้แก่ โต๊ะชุดสำหรับถ่ายภาพหุ่นนิ่งประกอบด้วยขาตั้งเหล็ก หรืออลูมิเนียมมีแผ่นพลาสติกสีต่าง ๆ เช่นสีขาว ดำ น้ำเงิน และม่วง เป็นที่วางวัตถุที่จะถ่ายภาพ ผิวหน้าของแผ่นพลาสติกมี 2 ด้าน ด้านหนึ่งผิวด้าน ส่วนอีกด้านหนึ่งผิวจะมัน คุณสมบัติของแผ่นพลาสติก คือถ้าใช้ไฟส่องด้านบนจะได้แสงตกกระทบธรรมดา แต่ถ้าใช้ไฟส่องจากด้านล้าง แสงจะสามารถทะลุพื้นพลาสติกขึ้นด้านบนสามารถใช้เป็นแสงสำหรับลดเงา หรือใช้เป็นแสงส่องจากพื้นล้างและด้านหลังของวัตถุ

2. ออกแบบ สเก็ตภาพ (lay – out) การจัดวางองค์ประกอบของวัตถุ ซึ่งจะทำให้ผู้ร่วมงานเข้าใจรูปแบบและแนวคิด สามารถจัดหาวัตถุประกอบฉาก ตลอดจนการจัดภาพได้ถูกต้องและรวดเร็วขึ้น

3. จัดหาวัตถุ สิ่งของ ที่จะถ่ายภาพ ถ้าเป็นประเภทผัก ผลไม้ ควรเตรียมไว้ให้มากพอ คอยฉีดน้ำดูแลให้สดอยู่เสมอ

4. นำวัตถุสิ่งของที่จะถ่าย วางบนโต๊ะถ่ายภาพ โดยจัดวางตามแบบที่สเกตภาพไว้

5. ทดลองจัดแสง ซึ่งอาจใช้หลอดไฟทังสเตน ถ้าเป็นการถ่ายภาพชิ้นเล็ก ๆ ก็ใช้สปอตไลท์ 500 วัตต์ 2-3 ดวงแต่ถ้าเป็นการถ่ายภาพขนาดใหญ่ ก็ต้องใช้ไฟที่มีกำลังวัตต์สูง ๆ เช่น 2000 วัตต์ถึง 5000 วัตต์ โดยใช้ผ่านแผ่นกรองแสงเพื่อให้ได้แสงที่นุ่มนวล ใช้แผ่นสะท้อนแสงลดเงาและอาจใช้ไฟส่องฉากหลัง เพื่อเน้นวัตถุให้เห็นเด่นชัดในปัจจุบันนิยมใช้แฟลชอิเลคทรอนิคส์ มีอุปกรณ์ เช่น ร่มสะท้อนแสง จานสะท้อนแสง ประตูโคม (Barn doors) กรวยแสง (Snoot) ซึ่งจะให้ความสะดวก สามารถบังคับทิศทางและปริมาณของแสงได้ตามต้องการ

6. กล้องสำหรับถ่ายภาพหุ่นนิ่ง ถ้าไม่จำเป็นต้องนำภาพไปขยายให้ใหญ่มาก ก็อาจใช้กล้อง ขนาด 35 มม.แต่ถ้าต้องการขยายภาพให้มีขนาดใหญ่ ก็ควรใช้กล้องขนาดกลางที่ใช้ฟิล์มขนาด 4” x 5” กล้องถ่ายภาพต้องตั้งบนขาตั้งกล้องให้มั่นคง เพราะการถ่ายภาพหุ่นนิ่งต้องการภาพที่ละเอียดชัดเจน และชัดลึกจึงต้องเปิดช่องรับแสงให้แคบมาก ๆ เช่น f16 ฉะนั้นความเร็วชัตเตอร์ จะต้องช้ามากเพื่อให้สัมพันธ์กับขนาดช่องรับแสง


การถ่ายภาพเด็ก
การถ่ายภาพเด็กเป็นการบันทึกภาพความไร้ เดียงสา ความน่ารัก ความบริสุทธิ์ตลอดจนความสนุกสนานร่าเริง ไว้ในแผ่นภาพ ลักษณะธรรมชาติของเด็กนั้นมักไม่ชอบอยู่นิ่งและ ชอบซุกซนตลอดเวลา ฉะนั้นก่อนถ่ายภาพควรให้เด็กได้เล่นอยู่กับของเล่น
ที่ถูกใจเล่นกับสัตว์ เลี้ยง หรือทำความสนิทสนมกับเด็ก เล่าเรื่องสนุกสนาน ทำท่าทางตลกและชักชวนให้เด็กทำสิ่งที่เขาชอบ ผู้ถ่ายภาพต้องคอยกดไกชัตเตอร์ในจังหวะที่เด็กกำลังอยู่ในท่าทางและอารมณ์ ที่เป็นตัวของตัวเองตามธรรมชาติมากที่สุด
การถ่ายภาพเด็กไม่ควรบังคับ เด็กของตัวเองให้ตั้งทางต่าง ๆ ซึ่งจะได้ภาพที่แข็งไม่เป็นชีวิตจริง เสียลักษณะความเป็นธรรมชาติ แต่ควรบันทึกพฤติกรรมในชีวิตประจำวันของเขาไว้ เช่น การเรียนการเล่นหรือแม้แต่กำลังร้องไห้น้ำตาไหลภาพต่าง ๆ เหล่านี้ อาจแสดงให้เห็นถึงความซุกซน ความดื้อรั้น และอารมณ์ต่าง ๆ ซึ่งจะให้ความน่ารักความประทับใจเป็นอย่างยิ่ง เพื่อให้ได้ภาพ
ถ่ายที่มีลักษณะเป็นธรรมชาติ ควรใช้การถ่ายภาพทีเผลอ (Candid photography) หมายถึง การแอบถ่ายโดยใช้แสงธรรมชาติ
ไม่ควรใช้ไฟแฟลช เพราะแสงไฟจะทำให้เด็กรู้สึกตัว อาจทำให้พลาดโอกาสที่ดีได้



My song